นับตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์เรารู้จักสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อปกป้องคุ่มครองตนเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากธรรมชาติ และสัตว์ป่า ต่อมามนุษย์เราก็รู้จักนำสัตว์มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ไว้ใช้งานและไว้เป็นอาหาร รู้จักทำคอก ทำรั้ว ทำอาณาเขตของบ้านให้เป็นสัดเป็นส่วนนำต้นไม้มาปลูกเป็นอาหาร ให้ร่มเงา และประดับให้สวยงาน และก็พัฒนากันมาเรื่อยๆ ความสำคัญของการจัดแต่งบริเวณบ้านด้วยต้นไม้ดอกไม้ แต่ก่อนนั้นก็เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจ และสุขภาพของเจ้าของหรือบุคคลในสถานที่นั้นๆ เป็นสำคัญ เช่น ปลูกพืชผักผลไม้ไว้รับประทาน ไว้รักษาโรค ปลูกไม้ใหญ่ไว้ให้เกินความร่มรื่นเย็นสบาย แต่เมื่อบ้านเมืองพัฒนาและเจริญมากขึ้น ตึกอาคาร บ้านเรือนหรือถนนก็ถูกสร้างขึ้นจนกลายเป็นป่าคอนกรีต การจัดแต่งสวนเริ่มมีบทบาทสำคัญ ทั้งเหตุผล และความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เพื่อเสริมสร้างความโอ่อ่าสง่างาม เพื่อความสวยงามน่าอยู่ เพื่อทำให้เกิดความส่วนตัว เพื่ออำพรางสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าดู เพื่อลดความไม่น่าอยู่ของตัวอาคาร เพื่อช่วยลดเสียงรบกวน และฝุ่นละอองที่เกิดจากผู้คน และยวดยานต่างๆ บนท้องถนน และเป็นที่พักผ่อนคลายยามเครียดจากการทำงาน และยังเป็นงานอดิเรกยามว่างอีกด้วย
การจัดสวนไม่ว่าจะบริเวณภายนอกที่พักอาศัย
สถานที่ทำงาน วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง และสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก แต่ละที่ต่างมีมีประวัติ
และความเป็นมาทางด้านแนวคิด รูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการจัดสวนที่แตกต่างกันออกไป
อาจได้รับอิทธิพลซึ่งกัน และกัน
ความเป็นมาของการจัดสวนในไทย
ย้อนกลับไปสมัยสุโขทัย พระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ทรงปลูกป่าไม้ตาล และทรงโปรดให้ปลุกหมาก
ป่าพลู ป่ามะพร้าว ฯลฯ หรือที่เรียกกันว่าสวนผลหมากรากไม้ในยุคนั้น
ต่อมาในสมัยยุคอยุธยา
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยุคสมัยสร้างราชธานีลพบุรี
ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้มีการส่งแบบแปลนสวนพระราชวังแวร์ซายส์มาให้ในการวางผังจัดสวนในพระราชวังลพบุรี
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ นอกจากได้รับอิทธิพลจากยุโรปแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากจีน
และญี่ปุ่นอีกด้วย จากจีนจะเห็นได้จากต้นไม้ที่ใช้ในการตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ดัด
ต้นไม้แคระ และไม่ตัดแต่งพุ่ม เช่น ตะโก ข่อย มะขาม ไทร สำหรับอิทธิพลจากญี่ปุ่นจะเห็นได้จากอุปกรณ์ตกแต่ง
เช่น ตะเกียง หิน สะพาน ซุ้มประตูญี่ปุ่น
ในสมัยรัตนโกสินทร์
เริ่มตั้งแต่สมัยรัชการที่ 2 เป็นต้นมา
ได้รับอิทธิผลมาจากจีนต่อเนื่องมาจากสมัยอยุธยาจะเป็นลักษณะภูเขาจำลอง
เรียกว่าเขามอหรือถะมอ เป็นการนำหินมาประกอบกันเป็นภูเขา อาจมีน้ำตก บ่อน้ำประกอบสะพาน
เก๋งจีน ตุ๊กตาหิน ต้นไม่ส่วนใหญ่เป็นไม้ดัด และในสมัยรัชการที่ 3 สวนภูเขาจะใหญ่กว่ารัชการที่ 2
ไม่ว่าจะสมัยสุโขทัย
อยุธยา หรือช่วงต้นของรัตนโกสินทร์จะมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนบ้าง
ญี่ปุ่นบ้าง หรือจากยุโรปก็ตาม จึงทำให้ไม่มีรูปแบบที่เห็นได้ชัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยก็ตาม
แต่หากลองทบทวน และพิจารณาดูอีกครั้งก็จะพอเห็นได้ว่ามีลักษณะหนึ่งที่เราจะพบได้มาก
ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองในชนบท หรือจะเป็นบ้านผู้มีตำแหน่งฐานะใดๆ ก็ตาม
บ้านไทยเราในสมัยนั้นมักมีใต้ถุนสูง มีระเบียงหรือนอกชานบ้านกว้าง มักมีลานบ้านด้านหน้าเปิดโล่ง
ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาบ้างบางจุด นอกเหนือจากส่วนที่เปิดโล่งก็จะเป็นทางเดิน มีม้านั่ง
มีไม้ดอกพื้นบ้านหรือไม้ดอกหอมปลูกประดับ มีไม้กระถางสวยๆ
ตามความนิยมชมชอบของเจ้าของบ้าน ชานเรือนและนอกชานเรือนมักประดับด้วยไม้กระถางหรืออาจเป็นซุ้มไม้เลื้อย
และอาจมีม้านั่งบ้างสุดแล้วแต่ความชอบ และความเหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ
ลักษณะการจัดสวนลานบ้าน และขานเรือนนี้เป็นลักษณะพิเศษของไทยคงไม่ผิด
เพราะมันอยู่คู่บ้านของเรา
และแทรกซึมอยู่ในนิสัยความเคยชินของคนไทยมาตั้งแต่โบราณกาล
การจัดสวน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น