สรุปสิ่งที่ได้จากการสร้างผลงาน

1. ชื่อเรื่อง : การจัดสวน

2. แนวคิดในการเลือกเรื่อง
   2.1 อยากทราบถึงวิธีการออกแบบ การเขียนแบบการจัดสวน
   2.2 อยากทราบถึงกระบวนการการจัดสวน
   2.3 อยากทราบถึงบทบาทความสำคัญของการจัดสวน
   2.4 อยากทราบว่าการจัดสวนมีทั้งหมดกี่ประเภท


3. วัตถุประสงค์ของงาน
   3.1 เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดสวน
   3.2 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการการจัดสวน
   3.3 เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจสามารถนำทฤษฎีไปใช่ต่อยอดความรู้
   3.4 เพื่อศึกษากระบวนการการสร้าง blog

4. ระยะเวลา : 18 มกราคม  - 25 เมษายน 2559

5. งบประมาณ : ค่าเดินทาง 300 บาท

6. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
   6.1 การเลือกแหล่งสารสนเทศ
      6.1.1 ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ มีข้อเท็จจริงสามารถพิสูจน์ได้จริง
      6.1.2 สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และเข้าใจง่าย
      6.1.3 เนื้อหามีความหลากหลาย
      6.1.4 สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ

   6.2 วิธีการรวบรวมสารสนเทศ
      6.2.1 บันทึกวิดีโอการสัมภาษณ์
      6.2.2 บันทึกการสัมภาษณ์ โดยการจดลงสมุด
      6.2.3 สืบค้นจากหนังสือภายในห้องสมุด
      6.2.4 สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเว็บไซต์ต่างๆ


   6.3 วิธีการเรียบเรียง ปรับแต่ง และนำเสนอสารสนเทศ
      6.3.1 อ่านข้อมูลทั้งหมดจากหลายๆ แหล่งข้อมูล จับใจความสำคัญแล้วจึงสรุป
      6.3.2 ตัดต่อวีดีโอนำเสนอ ใน Final Cut Pro
      6.3.3 อัพโหลดไฟล์วีดีโอ ใน Youtube
      6.3.4 ปรับแต่งรูปภาพ ใน Photoshop
      6.3.5 นำเสนอสารสนเทศ ใน blogger.com

   6.4 เนื้อหาสารสนเทศ


            การจัดสวนสำหรับผมแล้วแค่รู้สึกว่าชอบอะไรก็ใส่ๆ เข้าไป ต้นนู้นบ้างต้นนี้บ้าง ไม่ต้องอะไรมากมาย หรือไม่ต้องจ้างผู้ออกแบบจัดสวนก็ได้ ไม่เห็นจำเป็น แต่เมื่อได้ศึกษาทำให้รู้ว่า จริงๆแล้วการจัดสวนนอกจากจะเป็นศิลปะอย่างหนึ่งแล้ว หากเข้าใจทฤษฎี กระบวนการ และขั้นตอนการทำแลพออกแบบ จะรู้ว่าการจัดสวนนั้นไม่ง่าย และนอกจากรสนิยมความชอบส่วนตัวแล้วหากทำอย่างมีหลักการ และการว่างแผน วางแปลนที่ดีจะช่วยให้นอกจากจะได้สวนสวย ยังได้ประโยชน์อีกมาก ไม่ว่าจะช่วยลดเสียงรบกวน เป็นรมเงา ช่วยผ่อนคลาย และสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับเราได้ นี้แค่นำจิ้มเท่านั้น ตามเข้าไปดูกันเลยครับ

ที่มาและความสำคัญ


            นับตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์เรารู้จักสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อปกป้องคุ่มครองตนเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากธรรมชาติ และสัตว์ป่า ต่อมามนุษย์เราก็รู้จักนำสัตว์มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ไว้ใช้งานและไว้เป็นอาหาร รู้จักทำคอก ทำรั้ว ทำอาณาเขตของบ้านให้เป็นสัดเป็นส่วนนำต้นไม้มาปลูกเป็นอาหาร ให้ร่มเงา และประดับให้สวยงาน และก็พัฒนากันมาเรื่อยๆ ความสำคัญของการจัดแต่งบริเวณบ้านด้วยต้นไม้ดอกไม้ แต่ก่อนนั้นก็เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจ และสุขภาพของเจ้าของหรือบุคคลในสถานที่นั้นๆ เป็นสำคัญ เช่น ปลูกพืชผักผลไม้ไว้รับประทาน ไว้รักษาโรค ปลูกไม้ใหญ่ไว้ให้เกินความร่มรื่นเย็นสบาย แต่เมื่อบ้านเมืองพัฒนาและเจริญมากขึ้น ตึกอาคาร บ้านเรือนหรือถนนก็ถูกสร้างขึ้นจนกลายเป็นป่าคอนกรีต การจัดแต่งสวนเริ่มมีบทบาทสำคัญ ทั้งเหตุผล และความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เพื่อเสริมสร้างความโอ่อ่าสง่างาม เพื่อความสวยงามน่าอยู่ เพื่อทำให้เกิดความส่วนตัว เพื่ออำพรางสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าดู เพื่อลดความไม่น่าอยู่ของตัวอาคาร เพื่อช่วยลดเสียงรบกวน และฝุ่นละอองที่เกิดจากผู้คน และยวดยานต่างๆ บนท้องถนน และเป็นที่พักผ่อนคลายยามเครียดจากการทำงาน และยังเป็นงานอดิเรกยามว่างอีกด้วย




การจัดสวนไม่ว่าจะบริเวณภายนอกที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง และสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก แต่ละที่ต่างมีมีประวัติ และความเป็นมาทางด้านแนวคิด รูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการจัดสวนที่แตกต่างกันออกไป อาจได้รับอิทธิพลซึ่งกัน และกัน
            ความเป็นมาของการจัดสวนในไทย ย้อนกลับไปสมัยสุโขทัย พระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ทรงปลูกป่าไม้ตาล และทรงโปรดให้ปลุกหมาก ป่าพลู ป่ามะพร้าว ฯลฯ หรือที่เรียกกันว่าสวนผลหมากรากไม้ในยุคนั้น
            ต่อมาในสมัยยุคอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยุคสมัยสร้างราชธานีลพบุรี ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้มีการส่งแบบแปลนสวนพระราชวังแวร์ซายส์มาให้ในการวางผังจัดสวนในพระราชวังลพบุรี พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ นอกจากได้รับอิทธิพลจากยุโรปแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากจีน และญี่ปุ่นอีกด้วย จากจีนจะเห็นได้จากต้นไม้ที่ใช้ในการตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ดัด ต้นไม้แคระ และไม่ตัดแต่งพุ่ม เช่น ตะโก ข่อย มะขาม ไทร สำหรับอิทธิพลจากญี่ปุ่นจะเห็นได้จากอุปกรณ์ตกแต่ง เช่น ตะเกียง หิน สะพาน ซุ้มประตูญี่ปุ่น
            ในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่สมัยรัชการที่ เป็นต้นมา ได้รับอิทธิผลมาจากจีนต่อเนื่องมาจากสมัยอยุธยาจะเป็นลักษณะภูเขาจำลอง เรียกว่าเขามอหรือถะมอ เป็นการนำหินมาประกอบกันเป็นภูเขา อาจมีน้ำตก บ่อน้ำประกอบสะพาน เก๋งจีน ตุ๊กตาหิน ต้นไม่ส่วนใหญ่เป็นไม้ดัด และในสมัยรัชการที่ สวนภูเขาจะใหญ่กว่ารัชการที่ 2




            ไม่ว่าจะสมัยสุโขทัย อยุธยา หรือช่วงต้นของรัตนโกสินทร์จะมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง หรือจากยุโรปก็ตาม จึงทำให้ไม่มีรูปแบบที่เห็นได้ชัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยก็ตาม แต่หากลองทบทวน และพิจารณาดูอีกครั้งก็จะพอเห็นได้ว่ามีลักษณะหนึ่งที่เราจะพบได้มาก ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองในชนบท หรือจะเป็นบ้านผู้มีตำแหน่งฐานะใดๆ ก็ตาม บ้านไทยเราในสมัยนั้นมักมีใต้ถุนสูง มีระเบียงหรือนอกชานบ้านกว้าง มักมีลานบ้านด้านหน้าเปิดโล่ง ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาบ้างบางจุด นอกเหนือจากส่วนที่เปิดโล่งก็จะเป็นทางเดิน มีม้านั่ง มีไม้ดอกพื้นบ้านหรือไม้ดอกหอมปลูกประดับ มีไม้กระถางสวยๆ ตามความนิยมชมชอบของเจ้าของบ้าน ชานเรือนและนอกชานเรือนมักประดับด้วยไม้กระถางหรืออาจเป็นซุ้มไม้เลื้อย และอาจมีม้านั่งบ้างสุดแล้วแต่ความชอบ และความเหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ ลักษณะการจัดสวนลานบ้าน และขานเรือนนี้เป็นลักษณะพิเศษของไทยคงไม่ผิด เพราะมันอยู่คู่บ้านของเรา และแทรกซึมอยู่ในนิสัยความเคยชินของคนไทยมาตั้งแต่โบราณกาล

สาธิตวิธีการทำสวนในขวด
        นอกจากการจัดสวนที่ทำให้บ้านของเรานั้นรื่นรม ยังมีอีกสิ่งที่สามรถทำให้ภายในบ้านเรานั้นสดชื่น สดใสมากขึ้น ซึ่งวันนี้เราจะมานะนำการทำสวนนขวดมาให้ทุกๆ คนกันครับ อย่างแรกเลย คือ เตรียมอุปกรณ์ครับ หาง่ายไม่ยุ่งยาก จะตามร้านตกแต่งสวนก็ได้  โฮมโปร และแนะนำอีกที่ คือ ตลาดจตุจักรครับ

อุปกรณ์



  • โหลแก้ว
  • ก้อนหินหรือก้อนกรวด
  • ถ่านดิน
  • มอสหรือพืช
  • ของตกแต่งกระจุกกระจิก เช่น ฟิกเกอร์เล็กๆ
ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมขวดแก้วที่ใส่
       เลือกคุณได้เลือกขวดแก้วมาแล้ว ก็ล้างทำความสะอาดทั้งข้างนอกและข้างใน ถ้าคุณใช้ขวดแก้วที่สะอาดมาทำ คุณก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในขั้นตอนสุดท้าย



ขั้นตอนที่ 2 : จัดชั้นหิน
       เลือกประเภทของหินที่คุณจะใช้จัดสวนขวด ในที่นี้จะใช้หินขาว เพราะว่ามันดูสะอาดแล้วก็สีตัดกับชั้นอื่นๆ แต่หากคุณชอบหินแบบอื่นๆ ก็ตามสบายเลย โปรดจำไว้ว่าหินที่คุณใช้จำเป็นต้องมีขนาดเล็ก คุณสามารถหาห้อนกรวดได้ตามใกล้ๆแม่น้ำหรือในสวน แล้วก็อย่าลืมล้างก่อนด้วยล่ะ หินจะช่วยในเรื่องของการระบายน้ำ




ขั้นตอนที่ 3 : จัดชั้นถ่าน
       ต่อไปก็เพิ่มชั้นของถ่าน ที่จริงชั้นนี้ไม่ต้องใส่ก็ได้ถ้าไม่จำเป็น แต่ถ่านหินจะช่วยในเรื่องของการกรองน้ำ ดังนั้นชั้นนี้ควรจะมีในกรณีของสวนขวดแบบปิด




ขั้นตอนที่ 4 : ชั้นดิน
       คุณจะต้องใส่ดินลงไปในสวนขวด ใส่ลงไปบยชั้นของถ่านหินแล้วเอามือกดให้แน่น ใส่น้ำนิดหน่อยเพื่อให้ดินระบายน้ำลงไปยังชั้นอื่นๆ


ขั้นตอนที่ 5 : เพิ่มพื้นที่สีเขียวกันหน่อย
        นี่เป็นเวลาของการเพิ่มสีสันเข้าไปในสวนขวดน้อยๆของคุณ คุณสามารถจะใช้มอสหรือพืชก็ได้ตามความพอใจ ออกไปเดินเล่นข้างนอกแล้วก็หาพืชหรือมอสที่น่าเอามาใส่ มอสนั้นหาง่าย ถ้าหาได้แล้วก็เก็บมา






ขั้นตอนที่ 6 ตกแต่งสวนขวด
       เมื่อได้ทุกชั้นครบแล้ว แล้วคุณก็พอใจกับขั้นตอนที่ผ่านๆมา ต่อไปก็คือเวลาของการตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย มีของมากมายที่นำมาตกแต่งได้ คุณสามารถใช้ก้อนหินที่มีรูปร่างแปลกๆแต่สวยงามไม่ก็ใช้เปลือกหอยหรืออะไรก็ได้ตามใจคุณเลย คุณสามารถที่จะใส่หุ่นฟิกเกอร์เล็กๆลงไปก็ได้เช่นกัน หรือคุณอาจจะใช้ฟิกเกอร์รูปแมลงล่ะก็ สวนขวดนี้จะดูน่ารักขึ้นมากเลยทีเดียว










เมื่อการการจัดสวนมีบทบาทความสำคัญกับชีวิตการเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้นจนขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว เมื่อเรามีที่พักอาศัย เราจะต้องจัดหาไปตามอัตภาพ และความพร้อมให้มีสวนหรือสนามได้ รูปแบบ และชนิดการจัดสวนมีมากมายหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอย การแก้ปัญหาเนื้อที่สภาพแวดล้อมตลอดจนรสนิยมที่แตกต่างกันออกไป

ลักษณะของสวน
-          สวนประดิษฐ์ (Formal Style)
-          สวนธรรมชาติ (Informal Style)
-          สวนจินตนาการ (Imaginative Style)
-          สวนนามธรรม (Abstract Style)

ชนิดของสวน
-          สวนหิน (Rock Garden หรือ stone Garden)
-          สวนกรวด (Pebble Garden)
-          สวนทะเลทราย (Desert Garden)
-          สวนน้ำ (Water Garden)
-          สวนแขวน (Hanging Garden)
-          สวนดาดฟ้า (Roof Garden)
-          สวนพรรณไม้ (Plant Garden)
-          สวนภูเขา (Hill Garden)
-          สวนผนัง (Wall Garden)
-          สวนที่ราบ (Flat Garden)
-          สวนสมุนไพร (Medicinal Plant Garden)
-          สวนหย่อม (Pocket Garden)
-          สวนกระถาง (Potable Garden)
-          สวนสาธารณะ (Park)
-          สวนสุขภาพ (Fitness Park)



สิ่งสำคัญของการจัดสวนอีกสิ่งหนึ่งคือวัสดุพืชพรรณ เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดภูมิทัศน์ และการจัดการต่อสภาพแวดล้อมภายนอก และภายในอาคารหรือที่พักอาศัย และสถานที่ต่างๆ ให้ดูมีคุณค่า วัสดุพืชพรรณเป็นส่วนช่วยทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา และช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดูดี และสวยงามขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสภาวะความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งวัสดุพืชพรรณ สิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่เกื้อกูลซึ่งกัน และกัน

ประโยชน์ของวัสดุพืชพรรณ
1.      ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน หรือกษัยการ
2.      ป้องกันแสงแดด ทำให้เกิดร่มเงา
3.      ต้นไม้สามารถช่วยป้องกันลมได้
4.      ช่วยดูด และคายก๊าซ
5.      ป้องกันกลิ่น
6.      ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก
7.      สามารถปลูกเพื่อปิดบังพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์
8.      เพิ่มคุณค่าแก่สิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม
9.      ช่วยที่ให้พื้นที่บริเวณสถานที่ อาคาร ที่พักอาศัยมองแล้วดูสะอาดตา เป็นระเบียบ
10.  ปิดบังสายตาจากภายนอก ทำให้เกิดพื้นที่ส่วนตัว

โดยวัตถุประสงของพืชพรรณนั้นหลักๆ คือ ใช้ควบคุมภูมิอากาศ เสริมหรือปรับปรุงงานด้านวิศวกรรมหรืองานสถาปัตยกรรม เป็นตัวแทนของธรรมชาติให้ความรู้สึกด้านอารมณ์ และทำให้รู้สึกอยาก ปรารถนา และความสวยงาม


   6.5 ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน
      6.5.1 เวลาของตัวนักศึกษากับผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ตรงกันทำให้ล่าช้า และเลยกำหนดเวลา
      6.5.2 ติดซ้อม และทำกำกับละคร ทำให้งานดำเนินไปได้ช้า
      6.5.3 ร่างกายไม่เอื้ออำนวย เพราะล้าจากการซ้อม และการกำกับละคร

      6.5.4 ระยะเวลาในการทำงานเป็นช่วงวันหยุดสงกรานต์ ทำให้ไม่ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ

7.บรรณานุกรม

บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
จักรผัน อักกพันธานนท์. การจัดสวน. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2529.
สมจิต โยธะคง. วัสดุพืชพรรณในการจัดภูมิทัศน์. กรุงเทพมหานคร : รวมสาส์น,
       2520.
เอื้อมพร วีสมหมาย. หลักการจัดสวนในบ้าน. กรุงเทพมหานคร : 
       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2530.

บรรณานุกรมข้อมูลออนไลน์
สมจิต โยธะคง. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบจัดสวน. [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Basic.htm.
       (วันที่ค้นข้อมูล : เมษายน 2559).
diischool. เรียนรู้การออกแบบจัดสวน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 
       www.diischool.com/garden-landscape-design. (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน
       2559).


inghappy. จัดสวนด้วยตัวเอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 
       home.kapook.com/view118441.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2559).


1 ความคิดเห็น: