สรุปจากหนังสือ 3 เล่ม



เมื่อการการจัดสวนมีบทบาทความสำคัญกับชีวิตการเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้นจนขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว เมื่อเรามีที่พักอาศัย เราจะต้องจัดหาไปตามอัตภาพ และความพร้อมให้มีสวนหรือสนามได้ รูปแบบ และชนิดการจัดสวนมีมากมายหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอย การแก้ปัญหาเนื้อที่สภาพแวดล้อมตลอดจนรสนิยมที่แตกต่างกันออกไป

ลักษณะของสวน
-          สวนประดิษฐ์ (Formal Style)
-          สวนธรรมชาติ (Informal Style)
-          สวนจินตนาการ (Imaginative Style)
-          สวนนามธรรม (Abstract Style)

ชนิดของสวน
-          สวนหิน (Rock Garden หรือ stone Garden)
-          สวนกรวด (Pebble Garden)
-          สวนทะเลทราย (Desert Garden)
-          สวนน้ำ (Water Garden)
-          สวนแขวน (Hanging Garden)
-          สวนดาดฟ้า (Roof Garden)
-          สวนพรรณไม้ (Plant Garden)
-          สวนภูเขา (Hill Garden)
-          สวนผนัง (Wall Garden)
-          สวนที่ราบ (Flat Garden)
-          สวนสมุนไพร (Medicinal Plant Garden)
-          สวนหย่อม (Pocket Garden)
-          สวนกระถาง (Potable Garden)
-          สวนสาธารณะ (Park)
-          สวนสุขภาพ (Fitness Park)



สิ่งสำคัญของการจัดสวนอีกสิ่งหนึ่งคือวัสดุพืชพรรณ เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดภูมิทัศน์ และการจัดการต่อสภาพแวดล้อมภายนอก และภายในอาคารหรือที่พักอาศัย และสถานที่ต่างๆ ให้ดูมีคุณค่า วัสดุพืชพรรณเป็นส่วนช่วยทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา และช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดูดี และสวยงามขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสภาวะความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งวัสดุพืชพรรณ สิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่เกื้อกูลซึ่งกัน และกัน

ประโยชน์ของวัสดุพืชพรรณ
1.      ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน หรือกษัยการ
2.      ป้องกันแสงแดด ทำให้เกิดร่มเงา
3.      ต้นไม้สามารถช่วยป้องกันลมได้
4.      ช่วยดูด และคายก๊าซ
5.      ป้องกันกลิ่น
6.      ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก
7.      สามารถปลูกเพื่อปิดบังพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์
8.      เพิ่มคุณค่าแก่สิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม
9.      ช่วยที่ให้พื้นที่บริเวณสถานที่ อาคาร ที่พักอาศัยมองแล้วดูสะอาดตา เป็นระเบียบ
10.  ปิดบังสายตาจากภายนอก ทำให้เกิดพื้นที่ส่วนตัว

โดยวัตถุประสงของพืชพรรณนั้นหลักๆ คือ ใช้ควบคุมภูมิอากาศ เสริมหรือปรับปรุงงานด้านวิศวกรรมหรืองานสถาปัตยกรรม เป็นตัวแทนของธรรมชาติให้ความรู้สึกด้านอารมณ์ และทำให้รู้สึกอยาก ปรารถนา และความสวยงาม











บรรณานุกรม

บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
จักรผัน อักกพันธานนท์. การจัดสวน. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2529.
สมจิต โยธะคง. วัสดุพืชพรรณในการจัดภูมิทัศน์. กรุงเทพมหานคร : รวมสาส์น,
       2520.
เอื้อมพร วีสมหมาย. หลักการจัดสวนในบ้าน. กรุงเทพมหานคร : 
       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2530.

บรรณานุกรมข้อมูลออนไลน์
สมจิต โยธะคง. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบจัดสวน. [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Basic.htm.
       (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2559).
diischool. เรียนรู้การออกแบบจัดสวน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 
       www.diischool.com/garden-landscape-design. (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน
       2559).

inghappy. จัดสวนด้วยตัวเอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 
       home.kapook.com/view118441.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2559).



Creative Commons License
การจัดสวน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น